เมนู

บัดนี้เพื่อจะแสดงอริยสัจจะทั้ง 4 ในขณะเดียวกัน พระองค์จึงตรัส
คำเป็นต้นว่า "ตถาคตปฺปเวทิตา" แปลว่า ธรรมอันพระตถาคตแทงตลอด
แล้ว . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ตถาคตปฺปเวทิตา" ความว่า สัจธรรม
ทั้ง 4 ที่พระตถาคตประทับ ณ มหาโพธิมณฑลทรงแทงตลอดแล้ว คือ
ทรงทราบแล้ว ได้แก่กระทำให้ปรากฏแล้ว. บทว่า "ธมฺมา" ได้แก่ ธรรม
คือ อริยสัจทั้ง 4. คำว่า "โว ทิฏฐา โหนฺติ" ได้แก่ ธรรมอันคนเห็นดี
แล้ว. คำว่า "โว จริตา" ได้แก่ ประพฤติดีแล้ว. ในธรรมเหล่านั้นอธิบายว่า
ได้แก่ ปัญญาที่ตนประพฤติดีแล้ว . คำว่า "อยํ วุจฺจติ" ได้แก่ บุคคลนี้
คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า ทิฏฐิปัตโต. ก็บุคคลนี้ บรรลุธรรมที่ตนเห็น
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฎฐิปัตโต. ญาณ คือ ปัญญาว่า "ทุกฺขา สงฺ-
ขารา สุโข นิโรโธ"
แปลว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข อัน
บุคคลนั้นเห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า ทิฏฐิปตฺโต. ทิฏฐิปัตตบุคคลนี้ ก็มี 6 จำพวก
เหมือนพระอริยบุคคลผู้ชื่อว่า กายสักขี.
จบอรรถกถาทิฏฐิปัตตบุคคล

[44]

สัทธาวิมุตตบุคคล

บุคคลชื่อว่า ทัทธาวิมุต เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้ทุกข์เกิด ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้
ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไป
ดีแล้ว ด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็น
ด้วยปัญญา แต่มิใช่เหมือนบุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่า สัทธาวิมุต

อรรถกถาสัทธาวิมุตตบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สัทธาวิมุตตบุคคล. ข้อว่า "โน จ โข ยถา
ทิฏฺฐิปตฺตสฺส"
อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายของสัทธาวิมุตตบุคคล เป็นธรรม-
ชาติสิ้นไป มิได้เหมือนกันกับทิฏฐิปัตตบุคคล.
ถามว่า ความต่างกันในการละกิเลสแห่งพระอริยบุคคลทั้งสองนั้น มี
อยู่หรือ ?
ตอบว่า ไม่มี.
ถามว่า ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร สัทธาวิมุตตบุคคล
จึงไม่ถึงทิฏฐิปัตตบุคคล.
ตอบว่า เพราะความแตกต่างกันแห่งธรรมอันท่านพึงบรรลุมีอยู่. ก็
ทิฏฐิปัตตบุคคล ท่านข่มกิเลสได้ด้วยการบรรลุไม่ลำบากเลย สามารถเพื่อข่ม
กิเลสทั้งหลาย โดยไม่ลำบาก ไม่ยาก. แต่สัทธาวิมุตตบุคคล เป็นผู้ลำบาก
อยู่ด้วยความทุกข์ยาก จึงสามารถข่มกิเลสทั้งหลายได้ ฉะนั้น ท่านจึงไม่ถึง
ทิฏฐิปัตติบุคคล.
อีกอย่างหนึ่ง ความแตกต่างกันแม้ด้วยปัญญาของท่านทั้ง 2 นั้นก็มีอยู่
ด้วย. อันวิปัสสนาญาณแห่งมรรค 3 เบื้องบนของทิฏฐิปัตตะเป็นคุณชาติคม,
กล้า, ผ่องใส เป็นไป. วิปัสสนาญาณของสัทธาวิมุตตะ ไม่คม, ไม่กล้า, ไม่
ผ่องใส เป็นไป. แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ถึงทิฏฐิปัตตบุคคล.
เหมือนอย่างว่า ชายหนุ่ม 2 คน เมื่อจะแสดงศิลปะ คนหนึ่งมีดาบ
อันคมกล้าอยู่ในมือ คนหนึ่งมีดาบทื่อ ต้นกล้วยเมื่อถูกตัดด้วยดาบสที่คมกล้า